เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค]
3. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีกายอย่างนี้ มีโผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์นั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีมโนอย่างนี้ มีธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ
บุคคลจึงยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้นจึงชื่อ
ว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีจักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้’ เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ
บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่คำนึง
ถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียงนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
โสตะอย่างนี้ มีเสียงอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่นนั้นว่า ‘ในอดีต เรา
มีฆานะอย่างนี้ มีกลิ่นอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรสนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
ชิวหาอย่างนี้ มีรสอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีกายอย่างนี้ มีโผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์นั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีมโน1อย่างนี้ มีธรรมารมณ์2อย่างนี้’ เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับ
ฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว